หลายองค์กรมักประสบกับปัญหา งาน ในตลาดแรงงานที่มีปริมาณมากขึ้น แต่ทิศทางความต้องการทำงานประจำมีปริมาณที่ลดลง ทำให้หลายองค์กรต้องทำการหาตัวช่วยในการเข้าถึงกลุ่มคนหางานที่มีความต้องการทำงานอย่างแท้จริง ซึ่งทุกวันนี้ก็มีหลายช่องทางที่องค์กรสามารถให้ฝ่าย HR ประสานงานติดต่อเพื่อเข้าไปทำการสืบค้นประวัติของคนหางานที่ฝากประวัติไว้ จะเห็นได้ว่าในตลาดหางานผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทย ยังคงมีการแข่งขันทางด้านตลาดแรงงานกันอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทุกวันนี้เว็บไซต์หางานต่างๆ ได้รับรูปแบบโครงสร้างให้สามารถใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับผู้หางานที่มีความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งงานในองค์กรต่างๆ ได้ตามที่ตนเองต้องการ รวมไปถึงองค์กรเองก็สามารถทำการค้นหาผู้สมัครงานที่มีความรู้ความสามารถ รวมถึงคุณสมบัติตามที่องค์กรมีความต้องการได้อีกด้วย
ดังนั้นแล้ววิธีการคัดกรอกผู้สมัครงานของฝ่าย HR จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านจิตวิทยาในการเจรจา รวมถึงรู้หลักการทำงานของแต่ละตำแหน่งงานด้วย เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการผ่านเอกสารการประกาศรับสมัครงานได้ นอกจากนี้จะต้องทำการวิเคราะห์ช่องทางในการหาคนที่เหมาะสมและเข้ากับกลุ่มเป้าหมายตามช่วยอายุของคนหางานได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งนำความรู้ความสามารถที่ตนเองมีมาวิเคราะห์เอกสารสมัครงานที่คนหางานส่งประวัติเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อทำการคัดเลือกคนที่มีความเหมาะสมใกล้เคียงกับที่องค์กรต้องการมากที่สุด
หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการคัดกรองผู้สมัครงาน มีดังนี้
- ทัศนคติ (Attitude) โดยทั่วไปแล้วการตรวจสอบข้อมูลหรือทิศทางของแนวความคิดผู้สมัครงาน ก็สามารถบ่งบอกผ่านตัวอักษรหรือข้อความที่เขียนลงใปในใบสมัครงาน แต่ถ้าจะให้ทราบแนวคิดอย่างละเอียดนั้นจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนสัมภาษณ์งาน ที่ฝ่าย HR จะสามารถพูดคุยพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวความคิดต่างๆ รวมถึงการรับฟังมุมมองในการทำงานของผู้สมัครงานนั้นๆ ว่ามีทัศนคติรวมถึงการวางแผนการทำงานในอนาคตเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าหากผู้สมัครงานมีทัศนคติในเชิงลบ เมื่อ HR รับเข้ามาทำงานร่วมกับคนหมู่มากในองค์กร ก็อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ เช่น มีแนวความคิดไม่ตรงกัน มีจุดมุ่งหมายในการทำงานไม่เหมือนกัน หรือมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม HR จะต้องทำการคัดกรองวิเคราะห์ผู้สมัครงานแต่ละคนอย่างละเอียด เกี่ยวกับแนวความคิดแนะเป้าหมายการทำงานในอนาคตอย่างชัดเจน
- ประสบการณ์ (Experience) แน่นอนว่าคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ก็ย่อมจะเป็นต้องยอมรับหรือมีความน่าสนใจกว่าคนที่ไม่เคยผ่านการทำงานเลย เพราะประสบการณ์ในการทำงานที่พวกเค้าเคยทำมานั้นจะช่วยลดภาระในการสอนงานของพนักงานใหม่ได้มากเลยทีเดียว และที่สำคัญสามารถมองเห็นมุมมองและทิศทางการทำงานในทางเดียวกับองค์กร เรียกได้ว่าเข้าใจถึงความต้องการในการปฏิบัติงาน รวมถึงสามารถปฏิบัติงานได้อย่างตรงจุด แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังมีอีกหลายตำแหน่งที่หลายองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับความที่มีประสบการณ์มากนัก เพราะผู้บริหารบางคนมีแนวคิดที่ว่า หากมีประสบการณ์มาเยอะ แนวคิดหรือความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น แต่หากเป็นคนเพิ่งจบใหม่หรือเพิ่งเคยทำงาน หากป้อนความต้องการหรือแนวทางในการทำงานลงไป พวกเค้าเหล่านั้นก็จะดำเนินงานตามแนวทางที่องค์กรได้กำหนดเอาไว้
- คุณสมบัติ (Feature) แน่นอนว่าคุณสมบัติของพนักงานในแต่ละตำแหน่งมักมีความแตกต่างกันออกไป บางตำแหน่งต้องการคนที่มีความรู้ความชำนาญ ความละเอียด หรือบางตำแหน่งต้องการคนที่มีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละอาชีพก็จะมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากที่ฝ่าย HR จะทำการพิจารณาผู้สมัครงานจากคุณสมบัติเบื้องต้นที่พวกเค้าได้กรอกรายละเอียดลงไป การคัดเลือกพวกเค้าเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์งานจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่าพวกเค้าเหล่านั้นมีคุณสมบัติตรงตามที่ทางองค์กรต้องการจริงหรือไม่
- ทักษะทางอารมณ์ (Emotional Quotient) หลายคนเมื่อเคยผ่านประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงประสบการณ์ในการหางานมา ก็มักจะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์กรเดิม จนทำให้ตนเองมีความต้องการอยากจะเปลี่ยนงานใหม่ ดังนั้นในขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน ฝ่าย HR จะสามารถวิเคราะห์สภาวะทางอารมณ์ของผู้สมัครงานแต่ละคนได้ ผ่านการพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงการเสนอแนวทางการทำงานในอนาคต หากผู้สมัครงานคนไหนที่ไม่สามารถควบคุมสภาวะทางอารมณ์ได้ ก็อาจจะกล่าวพาดพิง หรือพูดต่อว่าองค์กรเก่าในแง่ลบ ทำให้เกิดความเสียหาย สิ่งเหล่านี้เองที่ฝ่าย HR สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาการรับเข้าทำงานหรือไม่ได้อีกด้วย
- มีศักยภาพ (Potential) การแสดงศักยภาพในการทำงานของตนเองให้ฝ่าย HR ได้เห็นถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณมีความแตกต่างจากคู่แข่งขันสมัครงานคนอื่นๆ คุณต้องสร้างตนเองให้มีความน่าสนใจ ให้ฝ่าย HR รู้สึกว่าถ้าเลือกคุณเข้าไปทำงานด้วยแล้วจะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน ดังนั้นการคัดกรองผู้สมัครงานที่มีคุณภาพก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเช่นกัน ดังนั้นก่อนที่ฝ่าย HR จะตัดสินใจอะไรไป อาจจะลองให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสายงานนี้โดยตรงเข้ามาพูดคุยและร่วมพิจารณาด้วยก็ได้
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วจะเห็นว่า การคัดเลือกผู้สมัครงานแต่ละคนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เป็นสิ่งที่ฝ่าย HR จะต้องใช้กลยุทธ์ต่างๆ เป็นอย่างมาก เพื่อที่จะดึงความเป็นตัวตนของผู้สมัครงานแต่ละคนออกมาได้ ดังนั้นหากเบื้องต้นคุณได้ผ่านด่านการคัดกรองของฝ่าย HR ไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าคุณมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว